วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 6 สิ่งที่ได้จากการเรียน

          จากการที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้วิธีการสร้างและใช้งานบล็อก โดยมีการส่งงานผ่านทางบล็อก ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหาร เนื่องจากผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ บันทึกข้อมูล เรื่องราว ข่าวสาร  ความรู้และแชร์ประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่สนใจ นอกจากนี้บล็อกยังเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ ให้กับผู้เรียน โดยหลักการของ บล็อก คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บนบล็อก ออกสู่สาธารณชน  จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อผู้เขียนถ่ายทอดลงไปในบล็อก และ ผู้เรียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนา
           นอกจากนี้การสร้างบล็อกยังได้ฝึกทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น


ข้อดี ของการทำบล็อก
      
           1. สร้างง่ายได้ใช้ฟรีอีกด้วย
           2. เจ้าของบล็อกสามารถใส่ข้อขูลของผู้เขียนได้ตามชอบ
           3.เป็น เครื่องมือช่วยในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร เป็นต้น
           4.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้นั้น เนื่องจากผู้เขียน บล็อก มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีมีความรู้เฉพาะด้านๆความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน บล็อก ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
           5.ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน
           6. ผู้ที่สร้างบล็อกสามารถ ปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้
           7. หากมีเพื่อนใหม่ สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
           8. เป็นเหมือนบันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลของตนเองหรือองค์กร

ข้อเสียของการทำบล็อก           

         
          1.เจ้าของบล็อกมีอิสระในการนำเสนอบทความ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสต์เรื่องที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งเจ้าของบล็อก ต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบในการโพสต์ข้อความต่างๆ
           2. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อย หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
           3. เปิดโอกาสให้พวกที่ไม่หวังดี เข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน หรือผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้

        สำหรับตัวข้าพเจ้ามีความสุขมากกับการได้ฝึกทำบล็อก ได้รับความรู้และเทคนิคความรู้จากอาจารย์ผู้สอนมากมาย เมื่อนำไปฝึกฝนต่อยอดเพิ่มเติมก็ทำให้มีความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น         
        จากเรียนรู้จากอาจารย์ผู้เรียน การแลกเปลี่ยนรู้กับสมาชิกในห้อง ประกอบกับการเรียนรู้ด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ ข้าพเจ้าจึงได้นำบล็อกไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งพบว่านักเรียนให้ความสนใจกับการเรียนโดยการใช้บล็อก นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังสอนให้เพื่อนครูได้ลองทสร้างบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 5 การศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์

     กิจกรรมการศึกษาดูงานเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งการเรียนตามหลักสูตร ป.บัณฑิต บริหารการศึกษา เพราะจะทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ การบริหารจัดการการศึกษานอกสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้ไปศึกษาดูงานด้านการบริหารการจัดการศึกษา ณ ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ นับได้ว่าได้เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์เป็นอย่างมาก และข้าพเจ้าประทับใจมากที่สุด
         จากการศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์   ระหว่างวันที่ 24 -28 มกราคม 2554 ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆดังนี้
    การเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง
1. สำรวจความต้องการของสมาชิกในห้อง เกี่ยวกับสถานที่ศึกษาดูงาน ซึ่ง 
     สมาชิก ป.บัณฑิตบริหารการศึกษา  มีมติตกลงไปศึกษาดูงานประเทศ
     มาเลเซียและสิงคโปร์ ในระหว่างวันที่ 24 -28   มกราคม 2554
2. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
3. ติดต่อบริษัททัวร์  ซึ่งคณะกรรมการมีมติให้บริษัทศิรินครทัวร์ เป็นบริษัทจัด
     กิจกรรมศึกษาดูงานในครั้งนี้
4. ทำหนังสือเดินทาง


  การเดินทางศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์  
  
วันที่ 24  มกราคม  2554 
            ออกเดินทางตามกำหนดนัดหมายเวลาเดินทาง เวลา 04.00 น.   เวลารถออกล่าช้ากว่ากำหนดการเล็กน้อย (4.40 น.) อากาศเช้านี้สายฝนโปรยปรายก่อนเดินทางเล็กน้อยแบบประมาณน้ำพระพุทธมนต์จากเทวดารับการเดินทาง  คณะนักศึกษา  ป.บัณฑิตบริหารการศึกษา มรภ. นครศรีฯ และคณาจารย์ ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ไพศาล อาจารย์ทรงพล  อาจารย์นพรัตน์  อาจารย์สาลินี และอาจารย์เย็นฤดี ร่วมขบวนเดินทางโดยรถบัสหน่องทัวร์เพื่อเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ 
รถออกจากราชภัฏนครศรีธรรมราชมุ่งหน้าสู่ด่านจังโหลน (บ้านด่านนอก  อ. สะเดา จ. สงขลา) เพื่อตรวจสอบ passport เวลา 09.30 น. เดินทางต่อเข้าสู่ด่าน บูกิตกายูฮิตัม (ด่านเขาไม้ดำ) อยู่ในรัฐเปอร์ลิส  เวลา 10.30 น. เราต้องขนสัมภาระให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบโดยละเอียด....ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี  เดินทางต่อสู่เขตรัฐเคดาร์ (รัฐไทรบุรี)  รัฐเคดาร์พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรม


             ศึกษาดูงาน  โรงเรียน Sekolah Kebangsaan Kodiang  เด็กนักเรียนต้อนรับพวกเราน่ารักดี  อาหารมื้อแรกของเราเป็นข้าวหมกไก่ย่าง...กับส้มแมนดาริน...(รสชาติอร่อย...แบบแปลกๆ)  โรงเรียนนี้สร้างเมื่อปี  1932  ครู 47 คน  เป็นโรงเรียนที่สอน 3 ภาษา
            เวลา 13.40 น.  ก่อนออกเดินทางสู่ปีนัง (Penang)  แวะแลกเงินริงกิตและสิงคโปร์ดอลล่า (SGD)  รถมุ่งหน้าสู่ปีนัง (รัฐที่มีวัดพุทธ วัดจีน วัดแขก มัสยิดและโบสถ์)  เราเดินทางข้ามสะพานข้ามฟากและสะพานปีนัง (Penang Bridge) สะพานที่ยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร เป็นสะพานแขวนที่ยาวเป็นอันดับ 4 ของโลก สร้างเมื่อปี 1985 สมัย ดร. มหาธีร์ โมฮัมหมัด (มหาเดย์)  เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของประเทศมาเลเซีย
            ทานอาหารมื้อค่ำที่ร้าน “Makananlaut” เป็นอาหารจีน (รสชาติ...ก็จืดๆ) บรรยากาศหน้าร้านสวยดีพวกเราเลยถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก  เข้าสู่ที่พักประมาณ 4 ทุ่ม (เวลาท้องถิ่นมาเลเซีย) คืนนี้พักโรงแรม Grand Continental Hotel  ไกด์นัดหมายเวลาพรุ่งนี้ 6.30 (wake up) 7.30  (breakfast) 8.30 (go)



25 มกราคม 2554
           วันที่ 2 ของการเดินทาง ตื่นเช้าเวลา 04.00 น บ้านเรา แต่มาเลย์เวลา 05.00 น. อาบน้ำแต่งตัวเสร็จรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมเสร็จก็ออกมายืนถ่ายรูปที่หน้าโรงแรม




           หลังจากนั้นเดินทางออกจากโรงแรมไปยังป้อมปืนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และท่าเทียบเรือ Star Cruises เราผ่านวงเวียนซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองปีนังด้วย (นั่นคือลูกหมาก)  ไกด์แนะนำเราว่า ป้อมปืนนี้สร้างเมื่อปี 1817 เป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคม ไกด์เราชื่อว่า นายวีรพนธ์  หรือ บังมุสตาฟา เราเรียกง่ายๆ ว่าบังมุส  (เป็นผู้ให้ความรู้เราตลอด Trip นี้)  แวะถ่ายรูปกันแบบหืดขึ้นคอ (15นาที)เป็นโชคดีของเราที่เรือ Star Cruises ลอยลำอยู่ที่ท่าใกล้ๆพอดีจึงได้ภาพสวยๆ ติดมือมาด้วย
          จากนั้นเดินทางเข้าสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ใช้ระยะทางประมาณ 800 กว่า ก.ม.ก็เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศสองข้างทางถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์แวะชมพระราชวังของประเทศมาเลเซียระหว่างทางแวะถ่ายภาพกับพระราชวังแห่งชาติอิสตาน่า เนการ่า  (Istana Negara) เราได้แค่ชมความงามอยู่นอกรั้วและถ่ายรูปคู่กับทหารม้า  (ซึ่งหน้าตาก็คงจะรำคาญกับการที่ผู้คนต่างก็ไปถ่ายรูปด้วย พวกเราเหนื่อย....กับการวิ่งถ่ายรูป  (ต้องวิ่งไม่งั้นเราจะไม่ได้ถ่ายทุกมุม...เล่นเอาเหงื่อตกแต่ก็ยอม)  น้องๆ Staff เรียกพวกเราขึ้นรถ เพื่อไปถ่ายรูปและเยี่ยมชมอนุสาวรีย์ทหารอาสา สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้แก่ทหารอาสา เมื่อครั้งร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2   
           เวลาประมาณ 14.30 น. แวะถ่ายภาพ ณ จัตุรัสเมอร์เดก้า (Merdaka Square) หรือจัตุรัสอิสรภาพ คนมาเลย์จะเฉลิมฉลองวันชาติกันที่นี่  ซึ่งรายล้อมไปด้วยอาคารยุคอาณานิคม  เป็นสถาปัตยกรรมแบบอินเดียและอาหรับที่งดงาม  จุดเด่นคือ เสาธงที่สูงถึง 100 เมตร  เดินทางต่อเพื่อชมสัญลักษณ์ของมาเลเซีย นั่นคือตึกแฝด เปโตรนาส (Petronas Twin Towers)  สูง 451.9 เมตร  มี 88 ชั้น มีจุดให้ชมวิวอยู่ที่ชัด 41 สร้างเสร็จปี 1996 ครองสถิติตึกแฝดสูงที่สุดในโลก  ผู้ออกแบบคือ  ซีซ่าแฟรนลี่  เวลา 16.30 น. จากนั้นเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่ Genting Highland (ในรัฐปาหัง)  ถึงสถานี Cable Car  เราตื่นเต้นกับการนั่งกระเช้าไฟฟ้า   โดยกระเช้าลอยฟ้า(SKY WAY)ที่ทันสมัยและรวดเร็ว ปลอดภัย ท่ามกลางความตื่นเต้น ในขณะนั่งกระเช้าก็มีทั้งสนุกสนานตื้นเต้นและหวาดเสียวไปถึงลำไส้เชียวบางคนถึงกับลงมาจากกระเช้าหน้าซีดซึ่งข้าพเจ้าทึ่งกับทัศนียภาพของขุนเขา มีป่าไม้อันเขียวขจี นั่งกระเช้าอยู่ ประมาณ 15 นาที  และเข้าที่พักของโรงแรม หลังจากทานอาหารเย็นก็เดินชมศูนย์รวมความบันเทิง และบ่อนคาสิโนหลากหลายนานาชนิด บางคนก็ลองเล่นดูเข้านอนเอาเกือบๆ เที่ยงคืนแล้ว   
                                                                                      
26 มกราคม 2554

           เป็นวันที่ 3 ของการเดินทาง  ออกจากที่พักบนเกนติ้งวันนี้ต้องเดินทางกลับลงจากบนเกนติ้งด้วยรถบัสของเกนติ้งเนื่องจากวันนี้มีหมอกอันหนาทึบพวกเราสนุกและหนาวมากๆได้ถ่ายรูปท่ามกลางเมฆหมอกหลังจากลงจากเกนติ้งไกด์พาเราแวะ Shop ร้านนาฬิกา Swiss เวลาประมาณ 10.45 น.  เที่ยงก็ทานอาหารจีนที่ภัตตาคาร (เราคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเมนูอาหารได้เลย...เต้าฮู้  ผัดผักบุ้ง  ปลาราดพริก น้ำซุบที่เอาไป)
            ทานอาหารเสร็จเรามุ่งหน้าสู่เมือง ปุตราจาย่า ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ 25 กิโลเมตร  เมืองนี้สร้างโดยแนวคิดของอดีตนายกรัฐมนตรี มหาเธร์ โมฮำหมัด สร้างเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศ  หน่วยราชการ กระทรวงทบวงกรมต่างๆ ให้ย้ายมาอยู่ที่นี่ เริ่มสร้างเมื่อปี 2001 ก่อนถึงเมืองปุตราจาย่าเราได้ชมสะพานที่สวยงาม ชื่อ Butra Bridge 
            แวะถ่ายรูปตรงที่พักบนสะพาน กับมัสยิตสีชมพู ปุตรา (Putra Mosque) ด้านหน้าเป็นทะเลสาปเทียมที่ถูกสร้างขึ้นมาเสริมทัศนียภาพให้สวยงาม  มัสยิตแห่งนี้สร้างด้วยหินอ่อน จุคนได้ถึง 15,000 คน  เมื่อเต็มอิ่มกับบรรยากาศของเมืองใหม่ในมุมต่างๆ  ที่ไกด์นำเราไป  ก็เดินทางต่อไปมุ่งด่านตรวจคนเข้าเมืองโยโฮบารูเพื่อเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ เสร็จพิธีการ รับประทานอาหารเย็น เช็คอินเข้าสู่ที่พัก 

27 มกราคม 2554
       การเดินทาง ก็เหน็ดเหนื่อยแต่ก็ยังสนุกกับการเดินทางและก็คิดถึงบ้าน  รุ่งเช้าหลังรับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้วเดินทางไปยังอ่าวสิงคโปร์ ถ่ายรูปกับรูปปั้นสิงโตทะเล พ่นน้ำซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และเที่ยวย่านการค้าบริเวณถนน ออร์ชาร์ด   เที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้าตามอัธยาศัย    หลังจากนั้นเดินทางต่อไปยังเกาะเซ็นโตซ่า ศูนย์รวมความบันเทิงที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกของสิงคโปร์   ชมภาพยนต์ 4 D   (ประทับใจมากค่ะ)   ทันสมัยเหมือนนั่งอยู่ในเหตุการณ์จริงๆ และเข้าชม Song of the sea เป็นอะไรที่สวยงามตระการตาทั้งภาพและเสียง เมื่อชมเสร็จพวกเราต้องเกาะหลังกันออกมาเพื่อไม่ให้หลงกันหลังเรามารับประทานอาหารเย็นกันที่เกาะเซ็นโตซ่า เสร็จแล้วล่องเรือชมความงามยามค่ำคืนของสิงคโปร์เป็นอะไรที่สวยงามมากๆเป็นอีกบรรยากาศหนึ่งหลังจากที่ได้ชมตอนกลางวัน จากนั้นเดินทางออกจากสิงคโปร์เข้าสู่เมืองยะโฮบารู ประเทศมาเลเซียเวลาประมาณเกือบๆเที่ยงคืน







28  มกราคม 2554




        วันสุดท้ายของการเดินทาง ( ได้กลับบ้านแล้ว)    รับประทานอาหารเช้าที่
โรงแรม เสร็จแล้วเดินทางกลับ ผ่านกรุงกัวลาลัมเปอร์ จากนั้นเดินทางถึงดิวตี้
ฟรี ร้านค้าปลอดภาษี หลังจากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองเข้าสู่ประเทศไทยเรียบร้อยถึงบ้านโดยสวัสดิภาพเวลาประมาณ 12.30 น.
          จากการได้ไปศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้รับความรู้และประสบการณ์ที่มากมายหลายอย่าง ได้เห็นกระบวนการการบริหารจัดการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน ได้เห็นสภาพบ้านเมือง วิถีการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองของทั้งสองประเทศ การปฏิบัติตามกฏจราจรที่เคร่งครัด และสภาพบ้านเมืองที่สวยงาม แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ก็คิดว่าไม่มีที่ไหนจะน่าอยู่ไปกว่าเมืองไทยของเรา



                                                      เขียนโดย   อุไรวรรณ  เดชาสิทธิ์
                                                            รหัส 5346701040








วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 4 การบริหารจัดการด้านสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีในโรงเรียน

           โรงเรียนบ้านแพรกกลาง เป็นโรงเรียนขยายโอกาส จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล1,2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 และขยายโอกาสถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนบ้านแพรกกลางตั้งอยู่ตำบลคลองเส อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2   มีครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 16 คน นักเรียนทั้งหมด 133 คน
            การจัดการบริหารด้านสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยี โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน จำนวน 15 เครื่อง โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น คือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้บริจาค จำนวน 10 เครื่อง ใช้ในการเรียนการสอนที่ห้องคอมพิวเตอร์ และอีกจำนวน 5 เครื่องได้รับการจัดสรรตามโครงการปฏิบัติการไทยเข็มแข็งสำหรับห้องสมุด จำนวน 5 เครื่อง ซึ่งคอมพิวเตอร์ทั้งหมดใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของนักเรียน เป็นอย่างดี นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ สามารถมีความรู้ความเข้าใจคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดี ส่วนระบบอินเตอร์เน็ตทางโรงเรียนมีจานดาวเทียมที่ได้รับงบสนับสนุนจาก สพฐ.ซึ่งมีความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล

ปัญหาและอุปสรรค
1. ขาคครูที่มีความรู้ความชำนาญการด้านคอมพิวเตอร์โดยตรง
2. บุคลากรส่วนใหญ่ขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
3. ในกรณีมีฝนตก หรือลักษณะอากาศไม่เอื้ออำนวยการใช้อินเตอร์เน็ตไม่สามารถใช้การได้
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงกับความต้องการในการใช้ของนักเรียน
5. อินเตอร์เน็ตที่ใช้มีความเร็วต่ำบางครั้งเปิดใช้งานพร้อมกันทำให้ช้า

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3 การใช้โปรแกรม SPSS

1.กำหนดค่าใน variable view
   -name-พิมพ์ใส่ชื่อ เพศ,a1,a2,......,d3
   -width-ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
   -deimals-เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0)
   -value-ใส่ค่า 1-น้อยที่สุด 2-น้อย 3-ปานกลาง 4-มาก 5-มากที่สุด
2.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวม
   ได้ทั้งหมด(20 ชุด)
3.การวิเคราะห์ข้อมูล
   -transform-compute-พิมพ์หัวข้อ taใน target variable
   -เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
   -transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable
   -เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
   -transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable
   -เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
   -transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable
   -เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
   -คลิก analyze-descriptive statistic - frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3
    แล้วคลิก ok แสดงประมวลผล

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่1 แนะนำตนเอง

 
สวัสดีค่ะ
ชื่อ อุไรวรรณ เดชาสิทธิ์
รหัส 5346701040
สาขาวิชา บริหารการศึกษา
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านแพรกกลาง
อำเภอถ้ำพรรณรา  จังหวัดนครศรีธรรมราช